ข่าว Forex
รู้จักกับข่าว Forex
สำหรับการเทรดหรือลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือตลาดค่าเงิน (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดค่าเงินได้ทีบทความ : Forex คือ) เทรดเดอร์จะต้องพบเจอคำว่า “ข่าว Forex”, “ปฏิทินข่าว Forex” เนื่องจากเป็นสิ่งที่มักจะตัดสินความเป็นความตายให้กับการเทรดระยะสั้นๆ โดยเฉพาะบรรดา Day Trading ซึ่งความจริงแล้ว ชื่ออย่างเป็นทางการจริงๆ เวลาที่คนบอกว่า “อย่าลืมดูข่าว Forex” คือสิ่งที่เรียกว่า “ปฏิทินเศรษฐกิจ” (Economic Calendar) COIN MASTER
ปฏิทินเศรษฐกิจ (Economic Calendar) คือ กำหนดการอย่างเป็นทางการในการเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจ หรือการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ย ตัวเลขเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน
สำหรับเฉพาะเทรดเดอร์ในเมืองไทยนั้น เหตุผลที่เรานิยมเรียก “ปฏิทินเศรษฐกิจ” ว่าเป็นข่าว Forex ก็เพราะว่า การประกาศสิ่งต่างๆ ในปฏิทินเศรษฐกิจ มักจะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน หรือ Forex หรืออธิบายในมุมกลับกันก็คือ เพราะตลาด Forex นั้นอ่อนไหวต่อการประกาศตัวเลขในปฏิทินเศรษฐกิจ เราจึงนิยมเรียกปฏิทินดังกล่าวว่า “ข่าว Forex”
- ปฏิทินข่าว Forex สำคัญอย่างไร Pinterest
- ดูปฏิทินข่าว Forex ได้จากไหน
- ส่วนประกอบต่างๆ ของปฏิทิน
- วิธีการอ่านค่าความผันผวน 1-3 ดาว
- ข่าว Forex มีอะไรบ้างที่สำคัญ
- อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP)
- อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Decision)
- อัตราเงินเฟ้อ (CPI)
- อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)
- สำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
- ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
- ดัชนียอดขายปลีก (Retail Sales)
- การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls)
- ยอดขายบ้าน (Home Sales & Pending Home Sales)
ข่าว Forex มีอะไรบ้างที่สำคัญ
- การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls)
- Nonfarm Payrolls นั่นเรียกได้ว่า เป็นตัวเลขที่สำคัญที่สุดโดยเฉพาะคนที่เทรดตลาดหุ้นอเมริกา และส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสกุลเงิน U.S.Dollar และแน่นอนว่า มันส่งผลกระทบต่อสกุลเงินอื่นๆ ที่เป็นคู่ตรงข้ามกับดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงคนที่ต้องเทรดทองคำอีกด้วย ตัวเลขนี้ดูแลโดยสำนักงานสถิติสหรัฐฯ (Bureau of Labor Statistics) โดยจะประกาศทุกวันศุกร์ของสัปดาห์แรกของทุกเดือน
- ตัวเลข Nonfarm Payrolls คือ “ตัวเลขการจ้างงาน” ของสหรัฐฯ ซึ่งจะนับรวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นภาคบริการ, อุตสาหกรรม, คนทำงานออฟฟิศ ฯลฯ แต่จะไม่นับรวมคนที่เรียกว่า “Nonfarm” หรือภาคการเกษตรและครัวเรือน รวมถึงกลุ่ม NGOs ต่างๆ ด้วย โดยจะเป็นการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงว่า มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นจำนวนมากน้อยขนาดไหนเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา สล็อตออนไลน์
- Nonfarm Payrolls สะท้อนนัยที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะหากตัวเลขเพิ่มขึ้น แปลว่ามีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า มีคนมีงานทำมากขึ้น มีรายได้เมื่อนำมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว นอกจากนี้ นัยสำคัญอีกประการของ Nonfarm Payrolls คือความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจ เพราะหากมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ก็แปลว่า เจ้าของธุรกิจมีความพร้อมและความมั่นใจที่จะเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป
- หาก Nonfarm Payrolls ประกาศออกมา “ดีกว่าคาดการณ์” จะทำให้ U.S.Dollar แข็งค่าขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะได้รับผลเชิงบวก แต่จะส่งผลลบต่อ “ทองคำ”
- แต่หาก Nonfarm Payrolls ประกาศออกมา “แย่กว่าคาดการณ์” จะทำให้ U.S.Dollar อ่อนค่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะได้รับผลเชิงลบ แต่จะส่งผลดีต่อ “ทองคำ” เพราะทองคำเป็นคู่ตรงข้ามกับดอลลาร์
- Unemployment Rate
- ตัวเลขนี้คือ “อัตราการว่างงาน” เรื่องนี้สำคัญมากๆ แต่ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน โดยว่าการประกาศ Unemployment Rate ออกมามีตัวเลขที่สูง ก็แปลว่า “คนตกงานเยอะ” นั่นจะส่งผลเสียต่อทั้งตลาดหุ้นและค่าเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Decision) superslot
- การประกาศอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง หมายถึง ดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เพื่ออ้างอิง หรือส่งสัญญาณให้ธนาคารเอกชนต่างๆ ปฏิบัติให้สอดคล้องกับดอกเบี้ยนโยบาย การปรับเพิ่มหรือลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยมันจะส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ต่างๆ ผลตอบแทนจากเงินฝาก ฯลฯ และส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินอีกด้วย
- ในที่นี้ จะอธิบายหลักการพื้นฐานคร่าวๆ โดยหากประเทศไหนมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำๆ มันจะหมายถึง ทั้งต่ำทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ หากภาคธุรกิจสามารถกู้เงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ก็มีแนวโน้มที่จะมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อไปทำธุรกิจมากขึ้น และเมื่อมีการลงทุนมากขึ้น เศรษฐกิจก็มีแนวโน้มขยายตัว ดังนั้น
- หากมีการประกาศ “ลดอัตราดอกเบี้ย” = กระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมเงิน มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะขยายตัว
- หากมีการประกาศ “ขึ้นอัตราดอกเบี้ย” = ดึงคันเร่งทางเศรษฐกิจ แนวโน้มการกู้ยืมเงินจะหดตัว เศรษฐกิจจะค่อยๆ ชะลอตัวลง super slot
- โดยทั่วไป หากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม การลดอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นสูง แต่ค่าเงินมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลง เนื่องจากผลตอบแทนจากพันธบัตรต่ำลง เม็ดเงินบางส่วนจึงไหลออกจากตลาดพันธบัตร อย่างไรก็ตาม หากตลาดไม่ได้เห็นด้วยกับการลดดอกเบี้ย เช่น มองว่า การลดดอกเบี้ยอาจทำให้เกิดเงินเฟ้อรุนแรง ผลลัพธ์ก็อาจตรงกันข้าม ตลาดหุ้นสามารถปรับตัวลงได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญของเรื่องอัตราดอกเบี้ย คือต้องเข้าใจสภาวะรวมๆ ก่อนว่า ณ เวลานั้น ตลาดต้องอะไร? โดยหากตลาดเชื่อว่า การลดอกเบี้ยจะทำให้เศรษฐกิจดี เมื่อมีการประกาศลดดอกเบี้ย ก็จะทำให้ผลลัพธ์ตรงตามตำราทุกประการ
- ในทางตรงกันข้าม การขึ้นดอกเบี้ย ก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยจากตราสารหนี้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการไหลเข้าของกระแสเงินไปสู่ตลาดพันธบัตรของประเทศที่ขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ การขึ้นดอกเบี้ย ส่วนใหญ่ทำเพื่อควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ให้ขยายตัวมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดสภาวะเงินเฟ้อ โดยกลไกก็คือพอขึ้นดอกเบี้ยแล้ว มันจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินเพิ่มสูงขึ้น ภาคธุรกิจก็จะกู้น้อยลง และเมื่อมีการลงทุนน้อยลง เศรษฐกิจก็จะค่อยๆ หดตัว
อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่เรื่องมี “ตายตัว”แต่โดยพื้นฐาน (หากเป็นสภาวะที่เหมาะสมหรือปกติ) การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น ส่วนการลดดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง แต่อย่างที่อธิบายไปแล้ว หากเป็นสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ปกตินัก เราจำเป็นต้องเข้าใจว่า ตลาดในช่วงนั้นต้องการนโยบายแบบไหน สล็อตทุกค่ายเกม