ธนาคารกรุงเทพ ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2487 และเจริญเติบโตจนเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยความคิดที่จะก่อตั้งธนาคารของคนไทยอย่างแท้จริง เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2483-2492 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารต่างชาติมีอิทธิพลเหนือภาคการเงินของไทย ขณะนั้นนักธุรกิจไทยประสบปัญหาด้านแหล่งเงินทุนและการสนับสนุนจากธนาคารต่างชาติ ในภาวะที่คนไทยต้องการแรงสนับสนุนจากบริการธนาคารเช่นนี้ธนาคารกรุงเทพจึงถือกำเนิดขึ้นในปีพ.ศ. 2487 และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบธุรกิจในประเทศ จนธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ธนาคารไม่ได้หยุดอยู่เพียงให้บริการแก่คนกลุ่มเล็ก ๆ แต่ยังได้ขยายการให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ มากมาย จนก้าวขึ้นเป็นธนาคารที่มีบทบาทเด่นในประเทศไทย และเป็นธนาคารที่มีลูกค้าอย่างกว้างขวางจากทุกวงการ โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจชั้นนำของประเทศ
ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์ จำกัด เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารพาณิชย์สองคูหาในย่านราชวงศ์ ใจกลางกรุงเทพฯ ในขณะนั้น มีพนักงานทั้งสิ้น 23 คน และมีหลวงรอบรู้กิจเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ท่านแรก ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างฐานลูกค้าของธนาคารด้วยการให้บริการตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ธนาคารกรุงเทพในยุคต้น มีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนการผลิตและการค้าของคนไทยเพื่อฟื้นฟูประเทศภายหลังสงครามอย่างเต็มความสามารถ ธนาคารกรุงเทพใกล้ฉัน
โลโก้และคำขวัญ ธนาคารกรุงเทพ
เมื่อต้องสร้าง Brand ให้เป็นที่จดจำกับลูกค้าในระดับ Mass การเลือกใช้สัญลักษณ์ สี และ โลโก้ เป็นเรื่องที่แบงก์หันมาให้ความสำคัญ โดย สี และสัญลักษณ์ของโลโก้ที่แต่ละแบงก์นำมาใช้ ล้วนแต่มีที่มา และความหมายที่บ่งบอกถึง
โลโก้สีน้ำเงิน
ดอกบัวหลวง
สัญลักษณ์ สี และคำขวัญ ใช้ยาวนานกว่า 23 ปี สีน้ำเงิน เคร่งขรึม ที่ออกแบบมาคู่รูปทรงดอกบัวหลวง ซึ่งเป็นบัวพฤษชาติที่เจริญงอกงามเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม แพร่พันธุ์ง่าย ดังนั้นสัญลักษณ์ดอกบัว หมายถึงธนาคารคนไทย ส่วนคำขวัญ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” หมายถึง ธนาคารพร้อมที่จะให้บริการและให้คำแนะนำแก่ลูกค้าอย่างเสมอภาค และขยายบริการให้กว้างขวางออกไป เพื่อรับใช้มวลชนและสังคมอย่างใกล้ชิด ธนาคารกรุงเทพธุรกิจ
ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการอย่างครบวงจร ซึ่งประกอบด้วย
1. การจัดการสินเชื่อร่วม
2. การรับประกันการจัดจำหน่ายตราสารทุน
3. สินเชื่อเพื่อการค้าระหว่างประเทศ
4. สินเชื่อโครงการ
5. บริการรับฝาก
6. หลักทรัพย์
7. สินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอี
8. บริการการเงินธนกิจ
9. บริการให้คำแนะนำทางธุรกิจ
เครือข่ายสาขาในต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพครอบคลุม 13 เขตเศรษฐกิจสำคัญของโลก ได้แก่ จีน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว และพม่า ซึ่งประกอบด้วยสาขาต่างประเทศ 25 แห่ง สำนักงานตัวแทน 1 แห่ง และธนาคารในเครือที่ธนาคารกรุงเทพ ถือหุ้นทั้งหมด 2 แห่ง คือ Bangkok Bank Berhad (BBB) ในประเทศมาเลเซีย และ Bangkok Bank (China) Company Limited (BBC) ในประเทศจีน
จากจุดเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีพ.ศ. 2487 ปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ พาณิชยการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีสินทรัพย์รวมกว่า 1,725,000 ล้านบาท และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หลายระบบที่ธนาคารกรุงเทพใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในภูมิภาค
ธนาคารยังขยายเครือข่ายให้เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีสาขาทั่วประเทศเกือบ 1,000 สาขา และมีเครื่องเอทีเอ็ม และเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติให้บริการอยู่ทุกแห่งหนทั่วประเทศ ธนาคารมีเครือข่ายสาขาต่างประเทศทั้งหมด 25 สาขา และบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้นทั้งหมด 2 บริษัทและสำนักงานตัวแทนอีก 1 แห่ง ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงศูนย์กลางธุรกิจของโลก เช่น โตเกียว ลอนดอน และนิวยอร์ก
นอกจากนี้ ธนาคารกรุงเทพยังเป็นธนาคารไทยเพียงแห่งเดียวที่มีเครือข่ายต่างประเทศกว้างขวางที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ซึ่งธนาคารมีสาขาอยู่ทั้งที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซี่ยะเหมิน และเสิ่นเจิ้น
ปัจจัยสำคัญที่เสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของธนาคารกรุงเทพประกอบด้วยฐานลูกค้าซึ่งกว้างขวางที่สุดในประเทศ สายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า และเครือข่ายสาขาต่างประเทศที่กว้างขวางที่สุดในบรรดาธนาคารไทย
ในช่วงหนึ่งปีข้างหน้านี้ ธนาคารกรุงเทพ จะยังคงพัฒนาปัจจัยความเข้มแข็งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเสริมสร้างประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินธุรกิจและคุณภาพของการบริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ ธนาคารยังเตรียมขยายฐานธุรกิจสู่ระดับภูมิภาคและให้บริการระดับสากลเพื่อสนับสนุนบริษัทไทยให้สามารถขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ เช่นเดียวกับการสนับสนุนลูกค้าชาวต่างชาติให้สามารถมาลงทุนในประเทศไทย ส่วนในประเทศไทย ธนาคารจะพัฒนาขยายผลการประสานศักยภาพระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ของธนาคาร รวมถึงบริษัทในเครือเพื่อเพิ่มความหลากหลายในบริการที่มอบให้แก่ลูกค้าและเสริมสร้างความมั่นคงของฐานรายได้จากค่าธรรมเนียม
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกรุงเทพ ได้กำหนดแนวทางสำหรับการบริหารความเสี่ยงในแต่ละสายธุรกิจ เพื่อให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ การนำหลักเกณฑ์ของ Basel II และ IAS/IFRS มาปฏิบัติยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนกระบวนการบริหารความเสี่ยงของธนาคารให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร บทความอื่นๆ กยศ Google Map DTAC ไลน์ทีวี